มือหมุนไหวปะ?ดุมล้อ | รถตัดอ้อย Wut Sugarcane Harvester
📌รายละเอียด
รถตัดอ้อยเป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวอ้อยซึ่งใช้ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวอ้อย เข้าสู่โรงงานน้ำตาล โดยรถตัดอ้อยรุ่นนี้เป็นรถตัดอ้อยแบบล้อยาง และเป็นชนิดตัดอ้อยเป็นท่อนซึ่งเป็นชนิดที่นิยมใช้มากในประเทศไทย เนื่องจากลดความยุ่งยากในการจัดการการบรรทุกขนส่ง
📌ประโยชน์***
ใช้ในการตัดอ้อยแบบอ้อยท่อน พร้อมทั้งมีตัดตัวยอดและหางสะพานลำเลียงอ้อยขึ้นสู่รถตระกร้า หรือ
รถบรรทุกทันที ช่วยทดแทนแรงงานคน และลดความยุ่งย่างในการจัดการกับแรงงานคน
ซึ่งช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนการตัดอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
📌วิธีการใช้งาน***
ใช้งานร่วมกับรถบรรทุก หรือรถตระกร้า โดยเวลาเปิดหัวแปลงหรือการตัดใน 4 แถวแรก จะต้องตัดโดยให้รถบรรทุกตามหลังและรถตัดอ้อยโยกหางสะพานไว้ท้ายรถ เพื่อให้อ้อยลงพอดีกับ
รถบรรทุกแถวต่อ ๆ ไปให้รองอ้อยจากหางสะพานโดยให้รถบรรทุกขับขนานไปกับรถตัดอ้อย
📌ความสามารถในการทำงาน***
ตัดอ้อยประมาณ 100 – 300 ตันต่อวัน
📌อัตราการสิ้นเปลือง***
ใช้น้ำมัน 1.5 – 2 ลิตรต่อไร่ / แรงงาน 1 – 2 คน
📌การบำรุงรักษา***
– หลังการใช้งาน ทำการตรวจเช็คสภาพโดยรวมของรถ
– สลับหรือเปลี่ยนลูกปืนเฟืองเกียร์
– ตรวจสอบสภาพของโรลเลอร์ลำเลียง และอุปกรณ์ที่สึกหรอ
– รวมทั้งเปลี่ยนถ่ายกรองน้ำมัน อัดจาระบี
– หยอดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดข้อต่อต่างๆ
“รถตัดอ้อย” เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเกษตรที่ทันสมัย ได้ใจเถ้าแก่ไร่อ้อยไปแบบเต็ม ๆ ด้วยความคุ้มค่า น่าลงทุน ประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวอ้อยได้รวดเร็ว ทันใจ ลดการใช้แรงงานและลดเวลาทำงานในไร่ได้อีกด้วย … มีหัวแปลงสำหรับกลับรถเพื่อไม่ให้เหยียบย่ำตออ้อย ควรปลูกอ้อยให้ท่อนพันธุ์อยู่ลึก 20-25 เซนติเมตร ตามชนิดดินเหนียวหรือดินทราย
📌ข้อดีของการใช้รถตัดอ้อย หมดปัญหาขาดแคลนแรงงาน ค่า น้ำตาลในอ้อยสูงขึ้น มลพิษไม่เกิดขึ้น ลดค่าใช้จ่ายใส่ปุ๋ยบำรุงดิน และสะดวกรวดเร็ว
📌ข้อเสียเกษตรกรที่จะซื้อรถตัดอ้อย มีความพร้อมแค่ไหน…การใช้รถตัดอ้อยให้ประสบความสำเร็จ แปลงปลูกต้องเป็นพื้นที่ราบ ไม่มีโขดหิน แต่ละแปลงควรมีความยาว 200 เมตรขึ้นไป เนื้อที่ไม่น้อยกว่า 15 ไร่ และระยะห่างระหว่างร่องอ้อยไม่น้อยกว่า 1.5-1.6 เมตร
คนขับรถตัดอ้อยกับคนขับรถกล่องรับอ้อยต้องฝึกให้เกิดความชำนาญ รวมทั้งต้องรู้วิธีการซ่อมแซม และแก้ปัญหารถตัดอ้อย เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
ท้ายสุดเงินทุนซื้อรถตัดอ้อย รถใหม่ผลิตในประเทศขนาด 200-250 แรงม้า ราคา 6 ล้านขึ้นไป ขนาด 300-350 แรงม้า ราคา 8 ล้านขึ้นไป ส่วนรถตัดอ้อยที่นำเข้าจากต่างประเทศมีเฉพาะ 300-350 แรงม้า ราคา 11 ล้านขึ้นไป ส่วนมือสอง 6.9 ล้านบาทขึ้นไป
เกษตรกรที่ลงเงินทุนซื้อรถตัดอ้อยผลิตในประเทศมาใช้ 6 ปี พบว่า ได้ผลตอบแทนยังไม่คุ้มต้นทุน ยิ่งเป็นรถนำเข้าจากต่างประเทศจะต้องเป็นหนี้ไปอีกอย่างน้อย 11 ปี
ตัวเลขนี้เป็นการซื้อรถตัดอ้อยมาใช้ตัดอ้อยของตัวเอง และรับจ้างตัดให้คนอื่นด้วย ยังไม่คุ้มทุน ถ้าซื้อมาแล้วจอดเฉยๆ พังแล้วซ่อมไม่ได้ อะไหล่ไม่มี หนี้สินจะไม่เพิ่มพูนหรืออย่างไร.
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
ติดต่อรถตัดอ้อย wut :
📌 ไลน์: https://line.me/ti/p/wKdiUrxYAn
📌 เฟสบุ๊ค: https://www.facebook.com/moon.sunsun.315
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
#รถตัดอ้อยใหม่ #วิธีการซ่อมรถตัดอ้อย #วิธีการขับรถตัดอ้อย